%--------------------------------------------------------- %--------------------------------------------- Inside Fundamental Physics

Thursday, March 12, 2020

เริ่มต้นกับการประดิษฐ์ของเล่น

เริ่มต้นจากความขี้เกียจเขียนหนังสือเป็นเรื่องเป็นราว ข้าพเจ้าเลยหลบมาเขียนเป็นบันทึกของตัวเอง หากเขียนเป็นหนังสือถ้าขายดี ผู้อ่านก็ต้องเสียเงินซื้ออยู่ดี ถ้าเขียนไม่ดีก็ขายไม่ออกแน่นอน ดังนั้นหนทางการเขียนเวบบล็อกดูจะเหมาะสมกับการเริ่มต้นสำหรับข้าพเจ้า ณ เวลา ในบันทึกนี้จะเน้นการประดิษฐ์อุปกรณ์อย่างง่าย โดยอาศัยความรู้ในวิชาฟิสิกส์ โดยจะนำเสนอในลักษณะการเล่าเรื่อง กึ่งวิชาการ

Thursday, September 13, 2012

สนามแม่เหล็กโลก

เป็นโอกาศอันดีครับ ที่กำลังจะมีโอกาศได้พูดคุยเกี่ยวกับ เรื่อง ไฟฟ้า แม่เหล็ก ฟิสิกส์ยุคใหม่ ในการนี้ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เขียนรายละเอียดเกี่ยวกับการทดลองหา ค่าความเข้มของสนามแม่เหล็กโลก โดยใช้สนามแม่เหล็กภายนอกที่สร้างขึ้น จากการผ่านกระแสไฟฟ้้าไปในขดลวดทองแดง เพื่อเบนเข็มทิศจากนั้นก็วัดค่ามุมที่เบี่ยงเบนไป แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปเขียนกราฟ เพื่อคำนวณหาค่าความเข้มของสนามแม่เหล็กโลกต่อไป ดังนั้นในเรื่องแรกนี้ข้าพเจ้าจะเขียนรายละเอียดที่ได้สร้างชุดทดลองอย่างง่าย เพื่อประกอบการเขียนคู่มือปฏิบัติการในเรื่องนี้ ตามลำดับ

เพื่อไม่ให้น่าเบื่อจนเกินไปเริ่มที่วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ก่อนครับ

1. เข็มทิศ แบบไหนก็ได้แต่ขอให้มีหน้าปัดกันลมพัด (ที่จะใช้เป็นแบบอยู่ในน้ำ)
2. ลวดทองแดงสำหรับพันเป็นขดลวดเพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก
3. แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง
4. ตัวต้านทานปรับค่าได้แบบโวลุ่ม ใช้ปรับกระแสที่ไหลผ่านขดลวด
5. มัลติมิเตอร์ สำหรับวัดกระแสไฟฟ้า แบบอะนาลอกหรือดิจิตอล ได้หมด
6. ท่อสำหรับพันขดลวด
7. แผ่นพลาสติกหรือแผ่นไม้สำหรับทำโครงหรือฐานยึดอุปกรณ์
8. กระดาษกราฟ


ขั้นตอนการประดิษฐ์

1. พันขดลวดกับท่อวงกลม โดยคำนึงถึงความเข้มสนามแม่เหล็กที่จะผลิตได้สูงสุด (ในที่นี้ต้องการใช้กระแสไฟฟ้าไม่เกิน 500 mA และต้องได้ความเข้มสนามแม่เหล็กสูงสุดประมาณ 0.5 Gauss, อ่านว่าเกาส์ เป็นหน่วยของความเข้มสนามแม่เหล็ก ดูเพิ่มเติมได้ที่ ==>>> Gauss)

การคำนวณสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้น ในขดลวดเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน มีรายละเอียดดังนี้

และนี่เป็นตัวอย่างขดลวดที่พันเสร็จแล้ว